- หน้าแรก
- ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจาก สศท.2/ท้องถิ่น
สศท.2 ถอดบทเรียนแนวทางบริหารจัดการฯ กรณีศึกษาบางระกำโมเดล
สศท.2 พิษณุโลก นำเสนอผลการถอดบทเรียนแนวทางบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก กรณีศึกษาโครงการบางระกำโมเดล เพื่อให้ สศท.1-12 นำไปใช้เป็นต้นแบบในการถอดบทเรียนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก (อุทกภัย/ภัยแล้ง)
วันที่ 17 มีนาคม 2564 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2 พิษณุโลก) มอบหมายให้ นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร นำเสนอผลการถอดบทเรียนแนวทางบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก กรณีศึกษาโครงการบางระกำโมเดล ในการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารนวัตกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร (ผอ.กนผ.) เป็นประธาน มีผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการฯ
ทั้งนี้ ผลการถอดบทเรียนครั้งนี้ สศท.1, 3-12 จะนำไปใช้เป็นต้นแบบในการถอดบทเรียนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก (อุทกภัย/ภัยแล้ง) ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะ และจัดทำแผนการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากระดับประเทศ เพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูงของ กษ. ต่อไป
วันที่ 17 มีนาคม 2564 นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2 พิษณุโลก) มอบหมายให้ นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร นำเสนอผลการถอดบทเรียนแนวทางบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก กรณีศึกษาโครงการบางระกำโมเดล ในการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารนวัตกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร (ผอ.กนผ.) เป็นประธาน มีผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการฯ
ทั้งนี้ ผลการถอดบทเรียนครั้งนี้ สศท.1, 3-12 จะนำไปใช้เป็นต้นแบบในการถอดบทเรียนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซาก (อุทกภัย/ภัยแล้ง) ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะ และจัดทำแผนการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากระดับประเทศ เพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูงของ กษ. ต่อไป